logo

“อุ้มบ่อยจะติดมือ” คืออะไร?

เด็กแรกเกิดสื่อสารถึงโลกภายนอกได้อย่างเดียวคือการร้อง แต่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆได้หลายทาง คือเสียง กลิ่นและการสัมผัส การอุ้มจึงเป็นสิ่งเดียวที่สามารถสื่อสารถึงลูกได้ครบทั้ง3ทาง คือกลิ่นของแม่รวมถึงกลิ่นน้ำนม สัมผัสจากการโอบกอด และเมื่อแม่อุ้มลูกขึ้นมาแนบอก แม้จะไม่ได้พูดอะไร แต่เสียงหัวใจของแม่ที่ลูกได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในท้อง ทำให้ลูกอุ่นใจและสงบลง

เมื่อออกมาสู่โลกภายนอกลูกต้องเรียนรู้ทุกสิ่งอย่างในการดำรงชีวิต ตั้งแต่การหายใจ การดูดนม การขับถ่าย ไม่แปลกที่ลูกจะหงุดหงิดบ้าง กลัวบ้าง ไม่มั่นใจบ้าง เมื่อลูกเรียนรู้ถึงวิธีการอื่นๆที่จะสื่อสารทั้งทางอารมณ์และทางภาษา การอุ้มที่เคยเป็นสิ่งที่ลูกต้องการก็จะลดลงไปเรื่อยๆ พร้อมกับพัฒนาการทางร่างกาย สมอง และอารมณ์ ที่เพิ่มมากขึ้น

ทารกในวัยก่อน 9 เดือน ยังไม่มีการคิดที่ซับซ้อนถึงขั้นที่จะทำให้เขาเสียนิสัยหรือเอาแต่ใจ ทารกในวัยแรกเกิดเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับผู้เลี้ยงดู ถ้าผู้เลี้ยงดูตอบสนองความต้องการขอทารกอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ทารกจะมีความเชื่อใจ(Trust) รู้คุณค่าของตัวเอง ทำให้มั่นคงทางอารมณ์ การอุ้มเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ของทารกกับผู้เลี้ยงดู

แต่ถ้าการอุ้มเฉยๆ หรืออุ้มเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ทำให้ลูกสงบลง เรามีวิธีแนะนำให้ลองไปใช้ดู ติดตามได้ในบทความต่อๆไปนะคะ

ในที่สุด การอุ้มก็จะเปลี่ยนมาเป็นอ้อมกอดพร้อมกับการหอมแก้มแม่ฟอดใหญ่ๆจากเจ้าตัวน้อยในวันวาน คุณแม่เข้าใจรึยังคะว่า “อุ้มบ่อยจะติดมือ คืออะไร?”

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *