logo

แสงแฟลชทำให้เด็กตาบอด หรือตาเสียจริงหรือ?

flash vs newborn

แสงแฟลชกับการถ่ายรูปเด็กแรกเกิด

จริงๆแล้วเด็กทารกมีกลไกป้องกันดวงตาจากแสงมากกว่าดวงตาของผู้ใหญ่ ยังไม่เคยมีเด็กทารกที่ตาบอดหรือเป็นโรคจากการโดนแสงแฟลช เนื่องด้วย

– เด็กทารกมีรูม่านตาที่เล็กกว่าผู้ใหญ่มาก แสงผ่านได้น้อย อันตรายก็ลดน้อยลง

– เมื่อมีแสงส่องเข้ามา ตามปฎิกิริยาตามธรรมชาติรูม่านตาจะหดตัวลง ยิ่งทำให้แสงผ่านเข้ามาได้น้อยลงไปอีก

– ตามสัญชาตญาณของมนุษย์จะหลบเลี่ยงเเสงอยู่แล้ว เป็นกลไลตามธรรมชาติที่ช่วยป้องกันอันตรายจากแสง เช่น การเบือนหน้าหนี , การหลับตา, การหยีตา

 

นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้กล่าวถึงการใช้แฟลชกับเด็กทารกว่า

– ถ้าตาเด็กโดนแสงแฟลชในระยะเวลาสั้นจะมีผลเสียน้อย นอกเสียว่าจะเปิดแฟลชถ่ายในระยะที่ใกล้กับดวงตามาก และถ่ายบ่อยๆ แบบนี้ทารกอาจเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก หรือจุดรับภาพชัดเสื่อมเร็วกว่าปกติได้

– ถ้าการถ่ายภาพโดยเปิดแฟลชในระยะห่างจากตาเด็กทารกพอสมควร และไม่ได้ถ่ายบ่อย แบบนี้ไม่มีอันตรายต่อตาเด็กทารก

ดังนั้นการถ่ายด้วยมือถือควรแน่ใจว่าปิดแฟลชให้เรียบร้อยก่อนถ่ายนะคะ เพราะเป็นแสงแฟลชที่แรงและใกล้กับดวงตาเด็กมากๆค่ะ

 

ถึงแม้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และศิริราช ยืนยันว่าแสงแฟลชไม่เป็นอันตราย แต่เพื่อความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่ที่อยากถ่ายรูปลูกน้อย จึงมาแชร์เทคนิคการถ่ายรูปลูกน้อยแบบปลอดภัยกันนะคะ

 

เทคนิคถ่ายภาพเด็กแรกเกิด แบบปลอดภัย 100% และได้เก็บภาพความทรงจำแบบคมชัด

– ใช้แสงธรรมชาติโดยใช้หน้าต่างบานใหญ่เพื่อให้ได้ปริมาณแสงเพียงพอ ทิศที่เหมาะสมคือ ทิศเหนือหรือทิศใต้

– ในกรณีที่แสงธรรมชาติไม่เพียงพอ ใช้แสงแฟลชผสมกับแสงธรรมชาติ ทำให้ไม่ต้องใช้กำลังไฟที่มากนัก

– ใช้ตัวกรองแสง เช่น softbox หรือ ผ้าสีขาวขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนแสงที่ผ่านก้อนเมฆสีขาว ความเข้มข้นของแสงจะเบา และมีความอ่อนนุ่ม

– ระยะการตั้งไฟ ควรตั้งไฟห่างจากทารกอย่างน้อย 1 เมตร เป็นระยะที่ปลอดภัย แต่ไม่ควรตั้งไฟตรงหน้าเด็กอ่อน ควรตั้งไฟเฉียง 45องศา หรือยิงแสงขึ้นเพดาน เป็นแสงที่ตกกระทบ ความเข้มข้นของแสงก็จะลดลง

 

เด็กแต่ละคนมีความไวต่อแสงที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนถ่ายถึงแม้จะทำตามเทคนิคด้านบนแล้ว เราควรดูพฤติกรรมของลูกน้อยด้วยว่าดวงตาของเค้ามีความไวต่อแสงระดับไหน ถ้าเด็กมีการหลบ หยีตา ควรต้องลดปริมาณแสงลงอีกเพื่อความปลอดภัยค่ะ

 

ทางสตูดิโอของเรา (Smallie Studio) ให้ความใส่ใจเรื่องนี้อย่างมาก คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้ว่าจะได้ภาพประทับใจและปลอดภัยต่อดวงตาลูกน้อยค่ะ

 

Reference

รศ.พญ.สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา (โรคตาเด็ก) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

อ.พญ.ศนิตรา  อนุวุฒินาวิน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

อ.นพ.พิทยา ภมรเวชวรรณ ภาควิชาจักษุวิทยา

Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

http://www.amarinbabyandkids.com/parenting/toddler/toddler-health/ flash

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=894

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *